ประเภทของเครื่องปริ้น

● เครื่องพิมพ์สติกเกอร์ คืออะไร??

เครื่องปริ้นสติกเกอร์ เครื่องพิมพ์ใบปะหน้า คือเครื่องมือที่ช่วยในการปริ้นฉลาก ใบปะหน้า สำหรับติดรายละเอียดที่อยู่ในการจัดส่ง ถือเป็นหนึ่งอุปกรณ์ที่มีความสำคัญต่อการจัดการของระบบคลังสินค้าเป็นอย่างมาก เพราะเครื่องปริ้นสติกเกอร์ เครื่องพิมพ์ฉลาก จะเป็นตัวช่วยจัดการในข้อมูลที่อยู่ทั้งผู้รับ และผู้ส่ง สามารถพิมพ์ แพ็ค แปะได้ในทีเดียว ช่วยประหยัดแรงงานคน และประหยัดเวลาในการทำงาน ลดต้นทุนการใช้สก็อตเทปในการแปะ เพราะตัวกระดาษเป็นกระดาษสติกเกอร์ สะดวกในการแปะ เครื่องปริ้นสติเกอร์ เครื่องปริ้นใบปะหน้า ในปัจจุบันมีให้เลือกมากมาย หลากยี่ห้อ หลากขนาด สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของการใช้งาน ทำให้การแพ็คสินค้าดูสวยงาม เป็นระเบียบ

● ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเครื่องปริ้นสติกเกอร์ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดยี่ห้อไหนดี?

1. Epson LW-K400
เครื่องปริ้นสติกเกอร์ Epson LW-K400 ใช้งานง่าย ราคาไม่แพง เหมาะสำหรับผู้คนที่ต้องการสร้างแบรนด์สินค้า ใช้พิมพ์ได้มากกว่า 80 ตัวอักษร เทคนิคการพิมพ์ถ่ายเทความร้อน ตัวพิมพ์ชัดเจน ขนาดกะทัดรัด พกพาสะดวก
2. Casio KL-120TH
เครื่องปริ้นสติกเกอร์ขนาดพกพา ใช้งานง่าย จอ LCD หลากหลาบฟังก์ชั่น เหมาะสำหรับนักขายรุ่นใหม่ ผู้สร้างแบรนด์ พิมพ์ได้มากถึง 2 บรรทัด ใช้ถ่าน AA พิมพ์ได้ทั้งไทยและอังกฤษ
3. Brother PT-D450
เครื่องปริ้นสติกเกอร์ Brother PT-D450 แบบทันสมัย มีให้เลือกกว่า 99 แบบ รองรับฟอนต์หลากหลาย ความละเอียด 180 dpi ให้ความเร็ว 20 มม./วินาที พิมพ์ได้ทั้งไทย-อังกฤษ พกพาง่าย น้ำหนักเบา

Epson LW-K400
Epson LW-K400
Casio KL-120TH
Casio KL-120TH
Brother PT-D450
Brother PT-D450

4. Dymo LW450TURBO
เครื่องปริ้นสติกเกอร์ Dymo LW450TURBO พกพาสะดวก น้ำหนักเบา แบบทันสมัย พิมพ์ด้วยนวัตกรรมใหม่ ไม่ต้องใช้หมึก ความเร็ว 55 มม./วินาที สามารถใช้กับโปรแกรม Windows ได้ พิมพ์ฉลากได้
5. Casio KL-HD1
เครื่องปริ้นสติกเกอร์ Casio KL-HD1 ออกแบบจับถนัดมือ สามารถพิมพ์สติกเกอร์ติดฉลากได้ทันที รองรับการพิมพ์โลโก้ เหมาะกับแม่ค้าออนไลน์
6. Brother PT-D200
เครื่องปริ้นสติกเกอร์ Brother PT-D200 ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับผู้ที่อยากออกแบบโลโก้ให้กับธุรกิจ พกพาสะดวก น้ำหนักเบา ราคาไม่แพง

Dymo LW450TURBO
Dymo LW450TURBO
Casio KL-HD1
Casio KL-HD1
Brother PT-D200
Brother PT-D200

7.Epson LW-C410
เครื่องปริ้นสติกเกอร์ Epson LW-C410 ออกแบบน่ารัก กะทัดรัด น้ำหนักเบา พิมพ์ด้วยระบบความร้อน ปริ้นได้รวดเร็ว ความละเอียด 180 dpi เหมาะกับการพิมพ์บาร์โค้ด QR Code เชื่อมต่อได้กับ Windows 8 ขึ้นไป
8. Brother PT-P300BT
เครื่องปริ้นสติกเกอร์ Brother PT-P300BT สามารถเชื่อมต่อกับโทรศัพท์ เชื่อมตอบลูทูธ น้ำหนักเบา ขนาดกะทัดรัด
9. Dymo LM210D
่เครื่องปริ้นสติกเกอร์ Dymo LM210D มีแท่นชาร์จ ช่วยประหยัดถ่าน ใช้งานง่าย พิมพ์งานได้เร็ว

Epson LW-C410
Epson LW-C410
Dymo LM210D
Brother PT-P300BT
Dymo LM210D
Dymo LM210D

10.Motex E-202
เครื่องปริ้นสติกเกอร์ Motex E-202 เหมาะสำหรับผู้เริ่มสร้างแบรนด์ ช่วยประหยัดงบประมาณ เครื่องพิมพ์ฉลากอัตโนมือ สามารถพิมพ์อักษรลายนูน แปะพื้นผิวได้หลากหลาย

Motex E-202
Motex E-202

การพิมพ์ความร้อนโดยตรงและการพิมพ์แบบถ่ายโอนความร้อน

รูปแบบการพิมพ์ของเครื่องปริ้นสติกเกอร์ เครื่องพิมพ์สติกเกอร์ จะแบ่งได้ 2 ประเภทดังนี้
1.การพิมพ์แบบถ่ายโอนความร้อน หรือ Thermal Transfer คือวิธีการพิมพ์โดยการถ่ายโอนความร้อนผ่านตัวกลาง โดยที่หัวพิมพ์จะไม่สัมผัสกับวัสดุที่ใช้ในการพิมพ์ ถ่ายโอนจากอุณหภูมิสูงไปยังอุณหภูมิต่ำ เมื่อโดนความร้อนหมึกบนตัวกลางจะระเหิดเป็นไอ บวกกับมีแรงกดดันเพิ่มเข้ามาทำให้ยึดติดแน่นขึ้น การพิมพ์แบบถ่ายโอนความร้อนสามารถใช้กับวัสดุได้ไม่จำกัด สามารถนำไปใช้ได้กับงานพิมพ์ที่หลาหลายทั้งดิจิทัล สกรีน ออฟเซ็ท อื่นๆ แต่ที่นิยมกันโดยทั่วไปคือการพิมพ์ผ้า ถ้วยเซรามิก สกรีนเสื้อต่างๆ เพราะสามารถพิมพ์ได้ทั้งแบบแห้งและแบบเปียก
2.การพิมพ์ความร้อนโดยตรง หรือ Direct Thermal คือวิธีการพิมพ์โดยไม่ถ่ายโอนความร้อนผ่านตัวกลาง หัวพิมพ์จะสัมผัสกับวัสดุที่ใช้ในการพิมพ์โดยตรง มักนิยมมากที่สุดในการใช้พิมพ์ฉลาก บาร์โค้ด สติกเกอร์ การพิมพ์ความร้อนโดยตรงอาจทำให้วัสดุมีการเปลี่ยนสีได้ เพราะเมื่อสารเคลือบบางชนิดบนวัสดุที่ใช้ในการพิมพ์ทำปฏิกิริยากับความร้อน อาจทำให้วัสดุเปลี่ยนเป็นสีดำ จึงไม่ควรเก็บวัสดุที่จะนำมาใช้ไว้ในที่ที่อุณหภูมิมากกว่า 70 องศา

วิธีการเลือกซื้อเครื่องปริ้นสติกเกอร์ เครื่องพิมพ์ใบปะหน้า

หลักการเลือกซื้อเครื่องปริ้นสติกเกอร์เพื่อนำไปใช้งาน ควรพิจารณาปัจจัยหลักๆดังนี้
1.เลือกจากการนำไปใช้งาน ปัจจุบันมีการผลิตเครื่องปริ้นสติกเกอร์ เครื่องพิมพ์ใบปะหน้า ออกมาหลายรูปแบบ หลายขนาด ระดับการรองรับการใช้งานแตกต่างกันออกไป ผู้ซื้อควรพิจารณาจากอุตสาหกรรม แลำจำนวนที่ต้องการนำไปใช้ ดังนี้
1.1 เครื่องปริ้นสติกเกอร์ Mobile Printer มีขนาดเล็ก พกพาง่าย เหมาะสำหรับงานขนส่งและคลังสินค้า
1.2 เครื่องปริ้นสติกเกอร์ Desktop Printer สำหรับตั้งโต๊ะ เหมาะกับงานพิมพ์ไม่เกิน 1000 ชิ้นต่อวัน นิยมใช้กันในร้านค้า โรงภาพยนตร์ต่างๆ
1.3 เครื่องปริ้นสติกเกอร์ Industrial Printer มีขนาดใหญ่ เหมาะกับการใช้งานที่มีจำนวนมากๆต่อวัน เพราะสามารถพิมพ์ได้มากถึง 4000-100000 ชิ้นต่อวัน นิยมใช้กันในโรงงานหรือคลังสินค้าขนาดใหญ่
1.4 เครื่องปริ้นสติกเกอร์ เครื่องพิมพ์ใบปะหน้า Mid-Rang Printer พิมพ์ได้ไม่เกิน 3000 ชิ้นต่อวัน มีขนาดกลาง มักใช้ในโรงงานขนาดเล็ก หรือร้านค้าต่างๆ
2.เลือกจากวิธีการพิมพ์ จำแนกได้ 2 แบบ คือ การพิมพ์ความร้อนโดยตรง ช่วยลดปัญหาเรื่องบาร์โค้ดจาง ไม่ต้องเสียเวลาเติมหมึก แต่มีอายุการใช้งานไม่ยาวนาน มีข้อควรระวังมาก เหมาะกับงานที่ต้องการความเร็ว และการพิมพ์แบบถ่ายโอนความร้อน ได้บาร์โค้ดที่คมชัดแต่ต้องเสียเวลาในการเติมหมึก เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความคงทน
3.เลือกจากการรองรับอุปกรณ์ เครื่องปริ้นสติกเกอร์แต่ละรุ่นมีการรองรับระบบปฎิบัติการได้ไม่เท่ากัน จึงควรอิงจากระบบปฏิบัติการที่ใช้งานอยู่ก่อนการเลือกซื้อ เช่น Andriod, IOS, Windows เป็นต้น
4.เลือกจากกระดาษสติกเกอร์ ควรพิจารณาจากข้อมูลที่ต้องการพิมพ์ และเลือกขนาดกระดาษให้เหมาะสม มีการรองรับที่พอดีกับข้อมูล สามารถมองเห็นตัวอักษรได้ชัด เลือกขนาดกระดาษให้สามารถเข้ากับเครื่องปริ้นสติกเกอร์ ความกว้างที่พอดีกับเครื่อง

● ประเภทของกระดาษสติกเกอร์ เครื่องพิมพ์สติกเกอร์

  1. สติกเกอร์ลาเบล (Sticker Label) เนื้อวัสดุเป็นกระดาษ มีราคาถูก นิยมใช้กันโดยทั่วไปในการพิมพ์ฉลาก เครื่องพิมพ์ใบปะหน้า เช่น ฉลากยา ฉลากอาหารต่างๆ สามารถกันน้ำได้และทนความรอบ มีการเคลือบยูวีเพื่อความสวยงาม มีหลายแบบให้เลือกใช้งานทั้งแบบมัน แบบด้าน และกึ่งมันกึ่งด้าน
  2. สติกเกอร์โพลีเอสเตอร์ (Sticker Label Pet Polyester) ส่วนใหญ่ใช้ทำฉลากห้องเครื่องยนตรื เพราะสามารถทนทานความร้อนได้สูง กันน้ำ
  3. สติกเกอร์พีวีซี (Sticker Label PVC) มีความทนทานสูง ไม่ขาดง่าย กันน้ำ มีลักษณะเป็นเนื้อใส หรือขาวเงา ขาวนวล ทนทานความเย็นและความร้อน เหมาะกับการพิมพ์ฉลากที่ต้องการความสวยงามเป็นอย่างมาก
  4. สติกเกอร์พีวีซี พีพี เม็ท (Sticker Label PP Mat/ UPO) ทนทานต่อการฉีกขาด มีความกันน้ำ ทนต่อความร้อนและความเย็น มีหลายแบบให้เลือกทั้งแบบขาวนวล ขาวขุ่น และแบบมันเงา
  5. สติกเกอร์ความร้อน (Sticker Label Direct Thermal) เป็นสติกเกอร์เคลือบเคมี เมื่อโดนความร้อนจะเกิดสี จึงไม่จำเป็นต้องใช้หมึกในการพิมพ์ แต่ข้อเสียคือหมึกความร้อนจะไม่สามารถอยู่ได้นาน จึงเหมาะกับฉลากที่ต้องการใช้งานในระยะสั้น

● ความแตกต่างของกระดาษความร้อนและกระดาษเคมี

โดยทั่วไปแล้วกระดาษใบเสร็จสำหรับเครื่องปริ้นสติกเกอร์ เครื่องพิมพ์ใบปะหน้า จะมีลักษณะเป็นแผ่นยาว จึงนิยมเก็บโดยการม้วน และมีหน้ากระดาษไม่กว้าง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามลักษณะการใช้งานของเครื่องปริ้นสติกเกอร์ คือ กระดาษความร้อน และกระดาษเคมี

  1. กระดาษความร้อน เป็นกระดาษที่มีการเคลือบเคมี โดยตัวเคมีจะเกิดปฏิกริริยาเมื่อโดนความร้อน เกิดเป็นข้อความหรือรายละเอียดบนกระดาษ จึงไม่จำเป็นต้องใช้หมึกในการพิมพ์ แต่จะมีอายุการใช้งานสั้น ราคาสูง เมื่อกระดาษโดนแสง UV ข้อความจะจางเร็ว จึงควรเก็บรักษาไว้ในที่ร่ม อุณหภูมิไม่สูง และหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำมัน ความชื้น พลาสติก ไม่ควรใช้กับการพิมพ์บาร์โค้ดที่สำคัญๆ
  2. กระดาษเคมี เป็นเนื้อกระดาษธรรมดา ไม่มีการเคลือบเคมี มีทั้งแบบ 2 ชั้น และแบบ 3 ชั้น มีสำเนาในตัว จะเกิดรายละเอียดบนกระดาษเมื่อใช้ผ้าหมึกในการพิมพ์ ข้อดีคือมีราคาถูก มีความคมชัด อายุการใช้งานยาวนาน แต่ต้องเสียเวลา และมีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนผ้าหมึก ควรเก็บรักษาในให้พ้นจากความร้อนและความชื้นเพื่อยืดอายุการใช้งาน