Skip to content
- ซีเลคทีฟแรค (Selective Racking)
เป็นประเภทแรคที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด โดยมีคานแบ่งชั้นและมีพาเลทวางอยู่ด้านบน เพื่อรองรับการวางสิ่งของต่าง ๆ มีให้เลือกหลายขนาดตามความเหมาะสมของพื้นที่ โครงสร้างแข็งแรงและรับน้ำหนักได้มาก สามารถใช้ร่วมกับรถโฟล์คลิฟต์ (Forklift) ได้
- เนสติงแรค (Nesting Racking)
เป็น ชั้นวางพาเลท ที่ออกแบบมาให้สามารถซ้อนทับกันได้ (Stack) เพื่อประหยัดพื้นที่เมื่อไม่ได้ใช้งาน มีลักษณะเป็นชั้นโครงเหล็กที่สามารถวางและถอดพาเลทออกได้ง่าย เหมาะกับคลังสินค้าหรือโรงงานขนาดเล็กที่ไม่ได้มีพื้นที่จัดกับสินค้ามากนัก
- ไดรฟ์อินแรค (Drive-in Pallet Racking)
คือ ชั้นวางสินค้าแนวลึกที่ออกแบบด้วยระบบจัดเก็บแบบ LIFO (Last-in, First-out) หรือก็คือ สินค้าที่ถูกจัดเก็บเป็นลำดับสุดท้ายจะถูกนำออกไปเป็นลำดับแรก อย่างไรก็ตาม ระบบนี้จะประหยัดช่องทางการเดินรถโฟล์คลิฟต์ (Forklift) เหมาะกับโกดังที่จัดเก็บสินค้าที่ไม่ได้มีความหลากหลาย และสินค้าที่ไม่มีวันหมดอายุ
- ไดรฟ์ทรูแรค (Drive-Through Pallet Racking)
มีลักษณะการวางสินค้าแนวลึกคล้ายไดรฟ์อินแรค แต่ใช้ระบบจัดเก็บแบบ FIFO (First-in, First-out) ซึ่งก็คือ สินค้าชิ้นแรกที่จัดเก็บจะถูกนำออกไปเป็นอันดับแรกเช่นกัน จึงเหมาะกับสินค้าที่มีวันหมดอายุ หรือมีความหลากหลาย อย่างไรก็ตาม ชั้นวางพาเลท ประเภทนี้ต้องอาศัยช่องทางเดินรถโฟล์คลิฟต์ (Forklift) มากกว่าแบบอื่น ๆ
- ไมโครแรค (Micro Racking)
เป็นชั้นวางสินค้าขนาดเล็กหรือมีน้ำหนักเบา โดยเฉลี่ยสามารถรับน้ำหนักได้ราว 150 – 250 กิโลกรัมต่อชั้น เป็นแรคที่เหมาะกับการจัดเก็บอุปกรณ์ ชิ้นส่วน หรืออะไหล่ เป็นต้น จึงช่วยเพิ่มที่เก็บของในพื้นที่หรือห้องที่มีขนาดจำกัด ช่วยจัดระเบียบสิ่งของชิ้นเล็กได้ดี อีกทั้งยังเป็น ชั้นวางพาเลท ที่ติดตั้งได้ง่าย
- ลองแสปนแรค (Long Span Racking)
ออกแบบมาสำหรับจัดเก็บสินค้าหรือสิ่งของที่ยาว หรือไม่สามารถจัดเก็บบนชั้นซีเลคทีฟแรคได้ เช่น ไม้สำหรับก่อสร้าง ท่อ หรือชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ โดยสามารถรับน้ำหนักได้ราว 200 – 3,000 กิโลกรัม ซึ่งลองแสปนแรคจะมีจะมีพื้นชั้นที่ทำจากวัสดุต่าง ๆ ที่นิยม ได้แก่ แผ่นไม้อัด แผ่นเหล็ก และแผ่นตะแกรง อีกทั้งมี คานตามแนวยาว (Cross Beam) ที่ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักของชั้น